วันศุกร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ERP –Enterprise Resource Planning ตอน 1 เกริ่นนำ ERP



หลายคนเคยได้ยินศัพท์คำว่า ERP มามากมายหลายคนในวงการ Developer ก็มักจะได้ยินคำนี้เสมอว่า เคยทำระบบ ERP มาไหม? ระบบ ERP เคยได้ยินรึเปล่า? SAP เคยทำไหม? วันนี้ผมเลยจะมาขยายความคำว่า ERP จากประสบการณ์ของผมนะครับ
ERP ย่อมาจาก Enterprise Resource Planning  ถ้าแปลตรงตัวคือระบบวางแผนจัดการทรัพยากรองค์กรนั่นแหละ แต่โห พอแปลแล้วมันใหญ่จัง แล้วจะจัดการยังไงบ้าง(ในทีนี้ผมขออ้างเป็นระบบ ERP System Software นะครับ) สำหรับผม ERP นั้น ผู้จะทำควรจะรู้พื้นฐานเหล่านี้ก่อนคือ OGM – Organization Management การจัดการองค์กร โดยควรจะหาทฤษฏีมาอ่านซะก่อน เพราะการจัดการองค์กร พื้นฐานนั้นจะ เน้นที่ Human Behavior  แล้วมันเกี่ยวไรกับERP? เกี่ยวแน่นอน  เพราะระบบ ERP นั้นต้องบริหารองค์กรทั้งหมด แต่ถ้าผู้ทำผู้ให้ข้อมูล ไม่เคยรู้ว่าพฤติกรรมของแต่ละแผนก แต่ละบุคคล ที่ต้องการไปเก็บข้อมูลเพื่อ สร้างออกมาให้ผู้ใช้ๆ กลับไม่สอดคล้องกับสิ่งที่เขาทำอยู่ปัจจุบัน คำถามคือ ผู้ใช้จะใช้หรือไม่? คำถามนี้ตอบยากเรพาะบางบริษัทออกเป็นมาตรการต้องใช้ แต่บางบริษัทก็ทำอะไรไม่ได้เพราะหลังจากทำมานั้นก็ทำให้ บริษัททุ่มเทไปล้มเหลวได้ ฉะนั้นจึงควรจะทำการรู้เกี่ยวกับการจัดการองค์กรก่อนพื้นฐานจึงจะทำการ สร้างระบบ ERP ขึ้นมาใช้
ERP คือระบบจัดการองค์กรระบบนึง โดยมีพื้นฐานที่ทุกแผนกในองค์กรต้องทำงานและรายงานออกมาเป็น Real-time  การเชื่อมกันของแต่ละแผนกคืออะไร ในทฤษฏีของ ERP นั้นจะเชื่อมกันด้วยระหว่างแผนก พื้นฐาน คือ  ฝ่ายบุคคล,ฝ่ายผลิต,ฝ่ายขาย,ฝ่ายจัดซื้อ,ฝ่ายตรวจสอบคุณภาพสินค้า,ฝ่ายขนส่ง และฝ่ายที่สำคัญคือฝ่ายบัญชี ซึ่งการทำ ERP นั้นจะลดภาระฝ่ายบัญชีลงเพราะข้อมูลทุกอย่างจะต้อง เป็น Real time ทำให้ไม่ว่าจะฝ่ายไหนก็ต้องมีงบบัญชีหมด เพราะเมื่อทำการเรียบร้อยแล้วจะต้องมีการลงบัญชีของบริษัท จึงจะเรียกว่า ERP แต่ว่า สำหรับผม ERP นั้น สิ่งที่ผมคิดคือ ERP = ฝ่ายบริหาร + ฝ่ายปฏิบัติการ + ฝ่ายบัญชี + ฝ่ายลูกค้า + ฝ่ายขนส่ง คือ การสร้าง Software ที่ให้ผู้บริหารได้วางแผนและจัดการ พร้อมกับ Monitor สถานะการทำงานในแต่ละแผนกขณะเดียวกัน ก็โปรแกรมนี้ก็สามารถ รายงานสถานะได้อย่าง Real-time และสามารถโฟกัสถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ล่ะฝ่าย ซึ่งฝ่ายแต่ละฝ่ายจะขาดกันไม่ได้ จำเป็นต้องเชื่อมหากันเสมอและรายงานกันอย่างทันที โดยผู้บริหารจำเป็นจะต้องรู้ข้อมูลถึงสถานะของบริษัทในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นการเงิน การขาย การขนส่ง ความพอใจของลุกค้า กลยุทธ์การตลาด เป็นต้น และฝ่ายปฏิบัติการ จำเป็นจะต้องรายงานผลการปฏิบัติการอย่าง Real-time และถูกต้อง โดยฝ่ายปฏิบัติการอาจจะประกอบด้วย ทีมจัดซื้อ,ทีมการตลาด,ทีมผลิตกับทีมตรวจสอบการผลิต ทีมบุคคลและทีม IT การทำทั้งหมดจึงจะเรียกว่าครบ สำหรับฝ่ายปฏิบัติการ ทีมที่ขาดไม่ได้เลยและไม่ควรขาดเลยคือ ทีม IT เพราะเทคโนโลยีการสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญ ยิ่งทีม IT แกร่งและมีความรู้เท่าไร ย่อมหมายถึงว่าคุณสามารถสร้างสรรค์ คุณภาพระบบจัดการชั้นยอดได้ แต่ว่า อย่าให้ความสำคัญกับทีมใดทีมหนึ่งจนเกินไปเพราะทุกทีมมีความสำคัญเหมือนกันหมด
 
ERP ไม่ใช่ซอฟท์แวร์เทพพระเจ้าที่สามารถบรรดาลได้ทุกอย่าง ขึ้นอยู่กับการออกแบบ ผู้บริหารจะต้องมีการคิดและลงทุน บางคนอาจจะใช้ SAP ที่เป็นระบบ ERP ที่ใหญ่ที่สุดขณะนี้ บางคนก็ใช้เจ้าอื่นเช่น Oracle หรือ ของ Microsoft Sharepoint เป็นต้น  ไม่มีซอฟ์แวร์ไหนสมบูรณ์และสอดคล้องกับทุกบริษัท เพราะแต่ละบริษัทมีโครงสร้างต่างกันแผนกต่างกัน รูปแบบของอุตสาหกรรมต่างกัน แต่พื้นฐานนั้น ที่จะต้องมีใน ERP คือ ฝ่าบริหาร ,ฝ่ายปฏิบัติการ,ฝ่ายบัญชี ซึ่งเป็นหัวใจในการทำงานเลย แต่ว่าทั้งนี้จะขึ้นไม่ขึ้นกับ Organization Chart นั้น ขอให้เป็นประเด็นรองลงไปเพราะบางองค์กร จะใช้ Organization Chart แบบ Landscape คือ ทุกคนเท่ากันหมดแบ่งแยกตามหน้าที่ไม่มีใครใหญ่กว่าใคร แต่บางบริษัทก็จะใช้แบบ Pyramid Tree นั่นคือหัวสุดใหญ่ที่สุด แล้วแต่ละองค์กรไป การยึดติดกับ รูปแบบใดรูปแบบหนึ่งนั้นไม่ใช่ทางออกที่ดีเลย ควรจะพิจารณาตาม ความเหมาะสม ครับ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น