คำว่า Blue Ocean เป็นศัพท์ที่ไม่ใหม่เท่าไรและใครหลายคนคงเคยได้ยินกันมาบ้าง ผมจะมาอธิบายคำว่า Blue Ocean ในความรู้ของผมนะครับ
Blue Ocean ทะเลสีน้ำเงิน ในความหมายทางการตลาดมันคือการบุกเบิกหาสิ่งใหม่ๆตลาดใหม่ๆเพื่อลดการแข่งขันที่ดุเดือนใน Red Ocean หรือทะเลแดง ทำไมถึงเกิด Blue Ocean เพราะว่า Blue Ocean คือ "ทางออก" นั่นเอง Red Ocean คือทะเลแดง หมายถึงตลาดที่มีการแข่งขันสูง ทำให้เกิดการแข่งขันด้านราคาเกิดขึ้น(War Price) ผลก็คือทำให้กำไรที่เคยทำได้ดีในตลาดลดลงและต้องพยายามสร้างการแข่งขันให้ดีกว่าคู่แข่งทำให้ต้นทุนสูงขึ้น ขณะที่กำไรเริ่มสวนทางลง ซึ่งการเกิด Red Ocean นี้จะเกิดกับตลาดที่ใกล้อิ่มตัวจนถึง อิ่มตัวสุงสุดแล้ว ยกตัวอย่างเช่น ตลาดมือถือ Feature Phone ในอดีตที่การแข่งขันสูงมากๆ จนกลายเป็นราคาต่ำสุดอยู่ที่ เครื่องล่ะไมม่เกิน 900 บาท ส่งผลให้ผู้เล่นรายใหญ่ๆ ทยอยล้อมหายตายจากลงไปบ้าง และก็เกิด Blue Ocean ขึ้นก็คือ Smart Phone นั่นเอง
การทำ Blue Ocean ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะปัจจัยบางอย่าง นั่นคือ นวัตกรรม หรือแนวคิดใหม่ ที่จะทำให้เกิด Blue Ocean ขึ้น Blue Ocean เมื่อเกิดแล้วหากมีการเติบโตไปเรื่อยๆก็จะกลายเป็น Red Ocean ในที่สุด
ปัจจุบัน แม้ตลาด SmartPhone และ Tablet ยังไม่เกิดเป็น Red Ocean แต่ว่าสภาพก็ใกล้เคียงแล้วเพราะคู่แข่งเริ่มเยอะ และตลาดก็ใกล้จุดอิ่มตัวเต็มที ฉะนั้นเมื่อไรที่เกิด Blue Ocean เมื่อนั้นก็จะทำให้เกิดสิ่งใหม่ๆขึ้นอีกนั่นเอง
วันพุธที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2557
วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557
CSR(Corporate Responsibility) ใครว่าไม่สำคัญ?
Corporate Responsibility คือ หมายถึง ความรับผิดชอบต่อสังคมและ
สิ่งแวดล้อมขององค์กร ซึ่งคือการดำเนินกิจการภายใต้หลักจริยธรรมและการจัดการที่ดี
โดยรับผิดชอบสังคมและสิ่งเเวดล้อมทั้งในระดับไกลและใกล้ อันนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Credit : http://www.csrcom.com//)
ความรับผิดชอบตรงนี้เอง ก็เหมือนก้ำกึ่งระหว่างโฆษณาทางการตลาดอย่างหนึ่งกับการทำเผื่อสังคมอย่างแท้จริง การทำกิจกรรม CSR หลายๆบริษัทก็ทำเพื่อตอบแทนสังคม แต่ว่าอาจจะไม่ได้รับการจับตามองจากสื่อเท่าที่ควรนัก เช่น การทำส่งเสริมกีฬาของเบียร์สิงค์ เป็นต้น
การทำกิจกรรม CSR นั้น จำเป็นจะต้องวางแผนมาก่อนไม่ใช่แค่ทำเพื่อสังคมอย่างเดียวแต่จำเป็นจะต้องมีการวางแผน เพื่อรับกับกระแสตอบรับที่เกิดขึ้นด้วย หนึ่งในกระแสตอนนี้ที่เป็น CSR นั่นก็คือ #IceBacketChallenge ที่เป็นกระแสสังคมโดยการราดน้ำเย็นใส่ตัวเองและท้าคนต่อมา โดยผู้ไม่รับก็ทำการบริจาคเพื่อช่วยเหลือในการรักษาโรค ALS ตอนนี้เป้นกระแสโด่งดังในหมู่ดาราและเซเลบมากมาย
ทีนี้มาถามทำไมต้องทำ CSR?
1) เพื่อให้เกิดการตอบแทนต่อสังคม การรับผิดชอบและตอบแทนต่อสังคมคือ Concept ของ CSR อยู่แล้วแต่สาเหตุที่ต้องตอบแทนสังคมเป็นเพราะว่า สังคมนั้นเมื่อมีการใช้ และต้องมีการคืนเพื่อให้เกิดการหมุนเวียน บริษัทต่างๆ มีการใช้ทรัพยากรของสังคมไปมากมายแต่ไม่มีการตอบแทนคืนต่อสังคม เมื่อใช้นานๆเข้าก็หมดในที่สุดและทำให้บริษัทเองก็ล้มไปด้วย ฉะนั้นการตอบแทนสังคมเพื่อให้เกิดการหมุนเวียนจึงจำเป็นอย่างมาก
2) เพื่อความมั่นคงของบริษัท CSR ภายนอกคือการทำนโยบายเพื่อตอบแทนสังคม แน่นอนว่าปัจจุบันมีสือ่เข้ามาช่วยโปรโมทมากมาย ทำให้สังคมเกิดเป็น Viral ออกไป ย่อมตามมาซึ่งหน้าตาและชื่อเสียงของบริษัท ฉะนั้นจึงเป็นการทำให้เกิด Aware ของบริษัทได้เลยทีเดียว
สองสาเหตุนี้คือสาเหตุใหญ่ที่ทำให้เกิด CSR ในปัจจุบัน ผมเองก็รณรงค์ให้เกิด CSR เช่นกัน แต่ CSR นั้นไม่จำเป็นจะต้องออกสื่อเท่านั้น แต่ยังทำโดยไม่ออกสื่อได้หลายทางเช่น การดูแลพนักงานให้เกิดธรรมภิบาล การเอาใส่ใจ หรือ โรงงานที่ทำการบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยลงสู่แม่น้ำลำคลอง เป็นต้น
สิ่งแวดล้อมขององค์กร ซึ่งคือการดำเนินกิจการภายใต้หลักจริยธรรมและการจัดการที่ดี
โดยรับผิดชอบสังคมและสิ่งเเวดล้อมทั้งในระดับไกลและใกล้ อันนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Credit : http://www.csrcom.com//)
ความรับผิดชอบตรงนี้เอง ก็เหมือนก้ำกึ่งระหว่างโฆษณาทางการตลาดอย่างหนึ่งกับการทำเผื่อสังคมอย่างแท้จริง การทำกิจกรรม CSR หลายๆบริษัทก็ทำเพื่อตอบแทนสังคม แต่ว่าอาจจะไม่ได้รับการจับตามองจากสื่อเท่าที่ควรนัก เช่น การทำส่งเสริมกีฬาของเบียร์สิงค์ เป็นต้น
การทำกิจกรรม CSR นั้น จำเป็นจะต้องวางแผนมาก่อนไม่ใช่แค่ทำเพื่อสังคมอย่างเดียวแต่จำเป็นจะต้องมีการวางแผน เพื่อรับกับกระแสตอบรับที่เกิดขึ้นด้วย หนึ่งในกระแสตอนนี้ที่เป็น CSR นั่นก็คือ #IceBacketChallenge ที่เป็นกระแสสังคมโดยการราดน้ำเย็นใส่ตัวเองและท้าคนต่อมา โดยผู้ไม่รับก็ทำการบริจาคเพื่อช่วยเหลือในการรักษาโรค ALS ตอนนี้เป้นกระแสโด่งดังในหมู่ดาราและเซเลบมากมาย
ทีนี้มาถามทำไมต้องทำ CSR?
1) เพื่อให้เกิดการตอบแทนต่อสังคม การรับผิดชอบและตอบแทนต่อสังคมคือ Concept ของ CSR อยู่แล้วแต่สาเหตุที่ต้องตอบแทนสังคมเป็นเพราะว่า สังคมนั้นเมื่อมีการใช้ และต้องมีการคืนเพื่อให้เกิดการหมุนเวียน บริษัทต่างๆ มีการใช้ทรัพยากรของสังคมไปมากมายแต่ไม่มีการตอบแทนคืนต่อสังคม เมื่อใช้นานๆเข้าก็หมดในที่สุดและทำให้บริษัทเองก็ล้มไปด้วย ฉะนั้นการตอบแทนสังคมเพื่อให้เกิดการหมุนเวียนจึงจำเป็นอย่างมาก
2) เพื่อความมั่นคงของบริษัท CSR ภายนอกคือการทำนโยบายเพื่อตอบแทนสังคม แน่นอนว่าปัจจุบันมีสือ่เข้ามาช่วยโปรโมทมากมาย ทำให้สังคมเกิดเป็น Viral ออกไป ย่อมตามมาซึ่งหน้าตาและชื่อเสียงของบริษัท ฉะนั้นจึงเป็นการทำให้เกิด Aware ของบริษัทได้เลยทีเดียว
สองสาเหตุนี้คือสาเหตุใหญ่ที่ทำให้เกิด CSR ในปัจจุบัน ผมเองก็รณรงค์ให้เกิด CSR เช่นกัน แต่ CSR นั้นไม่จำเป็นจะต้องออกสื่อเท่านั้น แต่ยังทำโดยไม่ออกสื่อได้หลายทางเช่น การดูแลพนักงานให้เกิดธรรมภิบาล การเอาใส่ใจ หรือ โรงงานที่ทำการบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยลงสู่แม่น้ำลำคลอง เป็นต้น
วันอังคารที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2557
One Windows !!!
หลายคนคงรู้จักกับ Windows และมีประสบการณ์ที่ทั้งดีและไม่ดีทั้งหลายปนกันไป Windows เกิดจากบริษัท Microsoft มีประวัติศาสตร์ยาวนานก่อตั้งมาหลัง Apple เล็กน้อย แต่ทว่าความสำเร็จไม่น้อยหน้ากันเท่าไร วันนี้เดินหน้ามาถึงคำว่า One Windows จะเป็นเช่นไร และความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญจะเป้นยังไงเชิญติดตามกันที่นี่เลยครับ
https://www.blognone.com/node/59429
นายไอที
https://www.blognone.com/node/59429
นายไอที
วันศุกร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2557
สถิติการใช้ SmartPhone ของคนไทย
คนไทยกับสมาร์ทโฟนดูเหมือนจะเป็นของคู่กันซะแล้วเมื่อมีการสำรวจออกมาว่าคนไทยติดมือถือมากที่สุดในโลก กับล่าสุดก็มีการทำสถิติออกมาเป็น Infographic ให้เห็นอีกว่าคนไทยซื้อของมือถือเป็นจำนวนเงินมากถึง 4000 บาทต่อครั้งเลยทีเดียว นับเป็นตัวเลขที่น่าคิดสำหรับการทำตลาดออนไลน์มากเลย
Credit :Positioningmag.com
Credit :Positioningmag.com
วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2557
CPU แต่ล่ะ Core เป็นยังไง? แตกต่างยังไงมาดูกัน
วันนี้ได้เห็นบทความที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อคนที่อยากรู้ว่าอะไรคือ Core ของ CPU กัน ยุคนี้สมาร์ทโฟนแข่งสเปกกันมากมาย หลายเจ้าอวด CPU Quad core, Dual Core มันเป็นยังไงกัน? วันนี้มีบทความง่ายๆมาให้ดูกันครับ
GOTO : http://news.siamphone.com/news-14863.html
จริงๆแล้ว CPU คือการประมวลผล ยิ่ง CPU ที่มีความแรงและการประมวลผลจำนวนรอบเร็วๆก็จะทำให้ประมวลผลในการใช้ App ดีขึ้นถ้าพูดภาษาคนทั่วไปคือ มันยิ่งประมวลผลเร็วและทำให้เล่น เกมหรือเปิดเว็บเร็วขึ้นครับ แต่ว่า ทั้งนี้ขึ้นกับสถาปัตยกรรมที่ออกแบบมานะครับเพราะบางทีการที่มี Core เยอะๆ เช่น 8 Core ไม่ได้หมายความว่าจะเร็วกว่า 4 Core เสมอไป เพราะบางทีผู้ออกแบบอาจจะมีแนวคิดที่ว่าแบ่งการทำงานออกเป็น 4 -4 นั่นหมายถึง ทำงานทีล่ะ 4 Core อีก 4 Core ผลัดไปประมวลผลอย่างอื่นครับ
GOTO : http://news.siamphone.com/news-14863.html
จริงๆแล้ว CPU คือการประมวลผล ยิ่ง CPU ที่มีความแรงและการประมวลผลจำนวนรอบเร็วๆก็จะทำให้ประมวลผลในการใช้ App ดีขึ้นถ้าพูดภาษาคนทั่วไปคือ มันยิ่งประมวลผลเร็วและทำให้เล่น เกมหรือเปิดเว็บเร็วขึ้นครับ แต่ว่า ทั้งนี้ขึ้นกับสถาปัตยกรรมที่ออกแบบมานะครับเพราะบางทีการที่มี Core เยอะๆ เช่น 8 Core ไม่ได้หมายความว่าจะเร็วกว่า 4 Core เสมอไป เพราะบางทีผู้ออกแบบอาจจะมีแนวคิดที่ว่าแบ่งการทำงานออกเป็น 4 -4 นั่นหมายถึง ทำงานทีล่ะ 4 Core อีก 4 Core ผลัดไปประมวลผลอย่างอื่นครับ
ปัญหาเทคโนโลยีกับการศึกษา
คงปฏิเสธกันไม่ได้เลยว่าระบบการเรียนของประเทศไทยปัจจุบัน เรียนยังไง 10 ปีผ่านไปก็ยังเหมือนเดิม แม้จะมีการใช้ Tablet เข้ามาช่วยแต่ว่า บรรดาครูผู้สอนเองก็ไมไ่ด้ Active ตัวเองตามเทคโนโลยีด้วย กลับมองว่ามันถ่วงการสอนอีกต่างหาก ซึ่งข้อนี้เองทำเอาระบบการศึกษาบ้านเราเองยังคงไม่ไปไหนเท่าไร
เทคโนโลยีมีบทบาทกับทุกระบบธุรกิจ ปฏฺิเสธไมไ่ด้เลยว่าการมีเทคโนโลยีทำให้บ้านเมืองและการทำธุรกิจคล่องตัวขึ้น แน่นอนว่าสิ่งที่ต้องตามมากันคือ การเรียนรู้(Know-how) ซึ่งจะต้องมีการลงทุนทรัพยากรทางด้านเวลาในการเรียนรู้ตามมาเรียกว่า Learning Curve ถ้าเวลาในการเรียนรู้สั้นย่อมมีประโยชน์ต่อธุรกิจอย่างมากมาย ซึ่งในด้านการศึกษาเองก็เริ่มมีบทบาทมาก เช่น Tablet สำหรับการเรียนการสอนแทนหนังสือ หรือ โปรแกรมจำพวกสอนออนไลน์ โดยอาจาร์ยหรือนักศึกษาไม่จำเป็นต้องอยู่ในห้องเรียน แต่ว่าสิ่งพวกนี้กลับไม่ได้ผลนัก ทำไม? ผมจึงลองไล่ๆ คิดๆ ดูแล้วเลยคิดว่าสาเหตุมันน่าจะมีดังนี้
เทคโนโลยีมีบทบาทกับทุกระบบธุรกิจ ปฏฺิเสธไมไ่ด้เลยว่าการมีเทคโนโลยีทำให้บ้านเมืองและการทำธุรกิจคล่องตัวขึ้น แน่นอนว่าสิ่งที่ต้องตามมากันคือ การเรียนรู้(Know-how) ซึ่งจะต้องมีการลงทุนทรัพยากรทางด้านเวลาในการเรียนรู้ตามมาเรียกว่า Learning Curve ถ้าเวลาในการเรียนรู้สั้นย่อมมีประโยชน์ต่อธุรกิจอย่างมากมาย ซึ่งในด้านการศึกษาเองก็เริ่มมีบทบาทมาก เช่น Tablet สำหรับการเรียนการสอนแทนหนังสือ หรือ โปรแกรมจำพวกสอนออนไลน์ โดยอาจาร์ยหรือนักศึกษาไม่จำเป็นต้องอยู่ในห้องเรียน แต่ว่าสิ่งพวกนี้กลับไม่ได้ผลนัก ทำไม? ผมจึงลองไล่ๆ คิดๆ ดูแล้วเลยคิดว่าสาเหตุมันน่าจะมีดังนี้
- คนทำงานมานานย่อม ไม่อยากเปลี่ยนแปลง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้จะไปกระตุ้นให้ชีวิตต้องเกิดการเรียนรู้ใหม่ คนที่ทำงานมานานจนอยู่ตัว เช่น ผู้ที่ทำงานจำนวน 30-40 ปี เมื่อเจอโลกยุคอินเตอร์เน็ต ที่ต้องเรียนรู้และเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ทำให้ คนที่ทำงานมานานตามไม่ทันและไม่อยากเรียนรู้ใหม่
- ความไม่แน่นอนในการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำงานหรือการศึกษาต้องมีการเรียนรู้เกิดขึ้นทำให้เกิดการแข่งขันใหม่ และบทบาทตัวเองอาจจะถูกลดบทบาทลงก็เป็นได้
- นักเรียนในห้องเรียนไร้ระเบียบ ซึ่งการไร้ระเบียบนี้ปกติก็ยากต่อการควบคุมเวลาเรียนอยู่แล้ว ยิ่งเมื่อไม่ต้องมีอาจาร์ยคุมสอนในห้อง มีแต่หน้าจอ ยิ่งทำให้ไม่ตั้งใจเรียนมากยิ่งขึ้น
- สถานศึกษาไม่อยากทุ่มงบประมาณในการใช้เทคโนโลยี สืบเนื่องจากปัญหาข้อ 1 และ 2 และบุคลากรที่ทำงานมานาน ไม่ได้มีการ Active เปลี่ยนแปลงมานาน ทำให้คนไม่อยากเรียนรู้ใหม่
- เทคโนโลยีเก่าก็มีอยู่ เช่น PC ที่ใช้มานาน ซึ่งกการลงทุนแต่ละครั้งต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก จึงไม่อยากเสียใหม่
- ความไม่เชื่อในการศึกษาแบบออนไลน์ การศึกษาแบบออนไลน์ยังไม่สามารพิสูจน์ได้ว่ามีประสิทธิภาพเท่ากับการศึกษาปกติ ทำให้คนยังไม่เชื่อถือมากนัก
จากสาเหตุทั้ง 6 นี้ ปัญหาหลักๆคือ บุคลากรและนักเรียน ไม่ให้ความร่วมมือในการเรียนแบบไม่ใช้ห้องหรือเทคโนโลยีเรียนออนไลน์นั่นเอง การศึกษาไทยจำเป็นจะต้องพัฒนาอีกมากนักเรียน/นักศึกษาไทยยังคงไร้ระเบียบและไม่ขยัน ทำให้การศึกษาแม้จะมีเทคโนโลยีเข้าช่วยแต่เมื่อ ไร้ระเบียบทำให้การศึกษาไม่ได้ผลและเด็กไทยก็ไม่ชอบการเรียน ข้อนี้เองที่เป็นปัญหาทำให้การศึกษากับเทคโนโลยียังไม่ไปไหนเลย
นายไอที
วันศุกร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2557
PC ยังไม่ตาย !!!!
หลังจากมีอุปกรณ์ Smart Device มากมายที่ออกมาในช่วง 2-3 ปีนี้ เทคโนโลยีพัฒนาไปเร็วขึ้นมากไม่ว่าจะเป็น Smart Phone, Tablet, Smart Wearable และ กำลังจะมี Smart Car ตามมา แต่เชื่อไหมอุปกรณ์ที่เริ่มต้นอย่าง PC นั้นจะยังไม่ตาย ทำไมน่ะหรอ? สาเหตุผมจะอธิบายให้เห็น ดังนี้นะครับ
PC ในทีนี้รวมถึง NB ด้วยนะครับ
1) PC มีความสามารถที่สุงกว่า Smart Device ทั้งหมด ความสามารถในทีนี้คือความแรงของเครื่องและการใช้งาน โดย PC สามารถใช้งานหนักๆ เปิดเครื่องได้นานและมีความจุของอุปกรณ์ที่มากทำให้ การทำหลายๆ ที่ยังคงต้องใช้ PC เป็นหลักอยู่ดี
2) เกมบน PC มีกราฟฟิกสวยงามและเอื้อนักพัฒนา ข้อนี้ก็เป็นอีกข้อนึงที่เกื้อหนุน PC อยู่สาเหตุเพราะการเล่นเกมหนักๆที่มีการประมวลผลสูงๆ ยังเอื้อต่ออุปกรณ์ PC อยู่มาก แม้จะน้อยลงแต่ว่าตลาดเกมบน PC กลับไม่ได้กระทบเท่าไรนักเนื่องจากนักเล่นเกมมือโปรก็ยังเล่นเกมหนักๆบน PC ไม่เปลี่ยนไม่ว่าเทรนเทคโนโยโลยีจะออกเพิ่มเติมยังไง
3) กราฟฟิกประมวลผล ตัดต่อหนัง/วีดีโอ ยังไงก็ต้องพึ่ง PC เพราะการ์ดจอที่มีการแสดงผลและการประมวลผลอย่างรวดเร็วทางที่ดีที่สุดก็ยังหนีไม่พ้น PC อยู่ดี
4) Developer ยังไงก็หนีไม่พ้น PC สาเหตุเพราะว่า นักพัฒนาต้องการเครื่องที่มีกำลังสูงและหน้าจอที่ใหญ่ และการใช้เมาส์ พ้อยที่แม่นยำ การใช้ Touchscreen และการพัฒนาบน Tablet คงจะไม่เอื้อเท่าไรนัก
5) การใช้งาน Office เช่นการประชุม Conference ยังไงก็ต้องพึ่ง PC อยู่ สาเหตุเพราะการประมวลผลและ Internet ประจำสถานที่/บ้าน ยังเร็วกว่า Internet ประเภท 3G,4G และต้นทุนต่ำมาก การใช้ Conference บน PC ผ่าน Skype หรือ Hangout ก็ถือเป็นจุดขายที่ดีกว่านั่งมองผ่านจอเล็กๆ การประมวลผลที่เร็วกว่าย่อมทำให้การสื่อสารไม่พลาดได้
6) เครื่องปริ๊น PC มีการเข้าถึงเครื่องพิมพ์ที่หลากหลายกว่า อุปกรณ์ Smart Device หลายชิ้นยังคงใช้พิมพ์ผ่านเครื่องพิมพ์ไม่ได้แต่ PC มีการรองรับที่เพียบพร้อมไว้แล้ว ฉะนั้นเรื่องนี้จึงเป็นจุดที่ทำให้ PC ยังคงอยู่ต่อไป
7) การพิมพ์และการใช้เมาส์ ปฏิเสธไมไ่ด้เลยว่าการพิมพืและการใช้ Mouse เป็นจุดสำคัญของการใช้งาน PC แม้หลายคนจะบอกมันล้าสมัยไปแล้ว แต่ลองนึกๆดู การพิมพ์บนคีย์บอร์ดยังไงก็เร็วกกว่าการพิมพ์ผ่านหน้าจอเล็กๆ แน่นอน พร้อมกับการใช้เมาส์ก็ยังทำงานได้หลากหลายกว่าการใช้ Touchcscreen ด้วย ฉะนั้นหากยังไม่มีเทคโนโลยีในการทดแทน Mouse และ Keyboard ละก็คงยากแน่นอน
8) Server ที่ยังใช้อุปกรณ์ของ PC ซึ่งนี่ก็เป็นข้อนึงที่ยังไงก็เอื้อมากกว่า สำหรับ PC โดยเฉพาะเลยเนื่องจากต้นทุนที่สูง และค่าใช้จ่ายที่สูงการประมวลผลที่เร็ว จึงจะต้องใช้ PC ต่อไป บางคนสามารถใช้ PC เป็น Server ได้เลยทีเดียว
อย่างที่กล่าวมาทั้งหมด PC ยังไม่ตายแน่นอน เพียงแต่เทรนต่างๆที่สื่อประโคมเข้ามาทำให้คิดว่ามันเริ่มตายจากไปแต่มันผิด เพราะมันแค่ลดลงเนื่องจากมีอุปกรณ์บางอย่างมาทำงานแทนมันในบางฟังก์ชันที่มันด้อยลงเช่น การพกพาไปในทุกสถานที่ การเช็คอีเมล์หรืออ่านข่าวหรือการแชท แต่ข้อดีของ PC ก็ยังหนีไม่พ้นอยู่ดี ไม่ว่าจะเป็นการประมวลผล การพิมพ์การใช้เมาส์หรือการทำงานด้านกราฟฟิก งานหนักๆอย่างนี้ยังไงก็หนีไม่พ้น PC อยู่ดี จึงกล้าบอกว่ามันยังไม่ตายแน่นอนตราบใดที่ยังต้องการอยู่ ขณะเดียวกัน ราคาPC ก็จะสูงขึ้นด้วยตามหลัก Demand / Supply เพราะ Demand ต่ำลง การผลิตก็น้อยลงแต่อยู่ตัวมากยิ่งขึ้น ผู้ผลิตรายเล็กๆลดลง เหลือแต่รายใหญ่เท่านั้น ตัวอย่างที่เห็นชัดคือ Lenovo นั่นเองที่ทำกำไรจาก PC ได้อยู่ ฉะนั้นอย่าเพิ่งมอง PC เป็นของล้าหลังตราบใดที่เราขาดมันไม่ได้ แต่ขอให้มองให้ออกว่า มันใช้งานอะไรเหมาะกับเราตรงไหน แล้วจะทำให้สามารถเลือกใช้ได้ถูกต้อง
นายไอที
PC ในทีนี้รวมถึง NB ด้วยนะครับ
1) PC มีความสามารถที่สุงกว่า Smart Device ทั้งหมด ความสามารถในทีนี้คือความแรงของเครื่องและการใช้งาน โดย PC สามารถใช้งานหนักๆ เปิดเครื่องได้นานและมีความจุของอุปกรณ์ที่มากทำให้ การทำหลายๆ ที่ยังคงต้องใช้ PC เป็นหลักอยู่ดี
2) เกมบน PC มีกราฟฟิกสวยงามและเอื้อนักพัฒนา ข้อนี้ก็เป็นอีกข้อนึงที่เกื้อหนุน PC อยู่สาเหตุเพราะการเล่นเกมหนักๆที่มีการประมวลผลสูงๆ ยังเอื้อต่ออุปกรณ์ PC อยู่มาก แม้จะน้อยลงแต่ว่าตลาดเกมบน PC กลับไม่ได้กระทบเท่าไรนักเนื่องจากนักเล่นเกมมือโปรก็ยังเล่นเกมหนักๆบน PC ไม่เปลี่ยนไม่ว่าเทรนเทคโนโยโลยีจะออกเพิ่มเติมยังไง
3) กราฟฟิกประมวลผล ตัดต่อหนัง/วีดีโอ ยังไงก็ต้องพึ่ง PC เพราะการ์ดจอที่มีการแสดงผลและการประมวลผลอย่างรวดเร็วทางที่ดีที่สุดก็ยังหนีไม่พ้น PC อยู่ดี
4) Developer ยังไงก็หนีไม่พ้น PC สาเหตุเพราะว่า นักพัฒนาต้องการเครื่องที่มีกำลังสูงและหน้าจอที่ใหญ่ และการใช้เมาส์ พ้อยที่แม่นยำ การใช้ Touchscreen และการพัฒนาบน Tablet คงจะไม่เอื้อเท่าไรนัก
5) การใช้งาน Office เช่นการประชุม Conference ยังไงก็ต้องพึ่ง PC อยู่ สาเหตุเพราะการประมวลผลและ Internet ประจำสถานที่/บ้าน ยังเร็วกว่า Internet ประเภท 3G,4G และต้นทุนต่ำมาก การใช้ Conference บน PC ผ่าน Skype หรือ Hangout ก็ถือเป็นจุดขายที่ดีกว่านั่งมองผ่านจอเล็กๆ การประมวลผลที่เร็วกว่าย่อมทำให้การสื่อสารไม่พลาดได้
6) เครื่องปริ๊น PC มีการเข้าถึงเครื่องพิมพ์ที่หลากหลายกว่า อุปกรณ์ Smart Device หลายชิ้นยังคงใช้พิมพ์ผ่านเครื่องพิมพ์ไม่ได้แต่ PC มีการรองรับที่เพียบพร้อมไว้แล้ว ฉะนั้นเรื่องนี้จึงเป็นจุดที่ทำให้ PC ยังคงอยู่ต่อไป
7) การพิมพ์และการใช้เมาส์ ปฏิเสธไมไ่ด้เลยว่าการพิมพืและการใช้ Mouse เป็นจุดสำคัญของการใช้งาน PC แม้หลายคนจะบอกมันล้าสมัยไปแล้ว แต่ลองนึกๆดู การพิมพ์บนคีย์บอร์ดยังไงก็เร็วกกว่าการพิมพ์ผ่านหน้าจอเล็กๆ แน่นอน พร้อมกับการใช้เมาส์ก็ยังทำงานได้หลากหลายกว่าการใช้ Touchcscreen ด้วย ฉะนั้นหากยังไม่มีเทคโนโลยีในการทดแทน Mouse และ Keyboard ละก็คงยากแน่นอน
8) Server ที่ยังใช้อุปกรณ์ของ PC ซึ่งนี่ก็เป็นข้อนึงที่ยังไงก็เอื้อมากกว่า สำหรับ PC โดยเฉพาะเลยเนื่องจากต้นทุนที่สูง และค่าใช้จ่ายที่สูงการประมวลผลที่เร็ว จึงจะต้องใช้ PC ต่อไป บางคนสามารถใช้ PC เป็น Server ได้เลยทีเดียว
อย่างที่กล่าวมาทั้งหมด PC ยังไม่ตายแน่นอน เพียงแต่เทรนต่างๆที่สื่อประโคมเข้ามาทำให้คิดว่ามันเริ่มตายจากไปแต่มันผิด เพราะมันแค่ลดลงเนื่องจากมีอุปกรณ์บางอย่างมาทำงานแทนมันในบางฟังก์ชันที่มันด้อยลงเช่น การพกพาไปในทุกสถานที่ การเช็คอีเมล์หรืออ่านข่าวหรือการแชท แต่ข้อดีของ PC ก็ยังหนีไม่พ้นอยู่ดี ไม่ว่าจะเป็นการประมวลผล การพิมพ์การใช้เมาส์หรือการทำงานด้านกราฟฟิก งานหนักๆอย่างนี้ยังไงก็หนีไม่พ้น PC อยู่ดี จึงกล้าบอกว่ามันยังไม่ตายแน่นอนตราบใดที่ยังต้องการอยู่ ขณะเดียวกัน ราคาPC ก็จะสูงขึ้นด้วยตามหลัก Demand / Supply เพราะ Demand ต่ำลง การผลิตก็น้อยลงแต่อยู่ตัวมากยิ่งขึ้น ผู้ผลิตรายเล็กๆลดลง เหลือแต่รายใหญ่เท่านั้น ตัวอย่างที่เห็นชัดคือ Lenovo นั่นเองที่ทำกำไรจาก PC ได้อยู่ ฉะนั้นอย่าเพิ่งมอง PC เป็นของล้าหลังตราบใดที่เราขาดมันไม่ได้ แต่ขอให้มองให้ออกว่า มันใช้งานอะไรเหมาะกับเราตรงไหน แล้วจะทำให้สามารถเลือกใช้ได้ถูกต้อง
นายไอที
วันอังคารที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2557
Marketing Strategy Analysis - Apple VS Google(Samsung) ตอน 5
Samsung บริษัทยักษ์ ทางด้าน Electronic ในนามของบริษัท Samsung Electronics จำกัด บริษัทซัมซุงมีต้นกำเนิดจากประเทศเกาหลีใต้โดยครั้งแรกไม่ได้เน้นทางด้าน Electronic เท่าไร แต่ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น บริษัทจึงได้มีแบ่งส่วนออกมา และต่อมา Samsung Electronic จึงเกิดขึ้น ปัจจุบัน Samsung ไม่ได้จำกัดแค่ส่วนของอุปกรณ์ IT เท่านั้น แต่ยังรวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นตู้เย็น เครื่องซักผ้า เป็นต้น
Samsung เป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของ Android ซึ่งกินตลาด Android มากที่สุดในโลก ทั้งนี้เริ่มต้นนั้นซัมซุงได้ผลิตมือถือเพื่อแข่งขันกับ Nokia โดยทั่วไป แต่ต่อมาเมื่อ Android เกิดขึ้น ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ก้าวไกล จึงได้รีบเข้ามาใน Android ทันที โดยเริ่มต้นมีบริษัทคู่แข่งมากมายทั้ง HTC, Sony, Motorolla ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นยักษ์ใหญ่ทั้งสิ้น แต่ Samsung ก็สามารถพิสูจน์ถึงหนทาง แห่งผู้นำและสามารถพลิกมาเป็นผู้นำในที่สุด
กลยุทธ์ที่ซัมซุงใช้ในการแข่งขันของตลาด SmartDevice นั้นไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรเลยนั่นคือกลยุทธ์ เดียวกับของ Nokia ในอดีตนั่นเอง แต่ทว่าซัมซุงมีการเพิ่มเติมเข้าไปอีกเล็กน้อย
1) กลยุทธ์ตามสถานการณ์
ซังซุงเป็นบริษัทที่ปรับตัวเร็วมาก กลยุทธ์อย่างแรกของซัมซุงคือการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ให้ทัน ดังนั้นตอนออกมาช่วง SmartPhone ช่วงแรกที่ Apple ยังคงเป็นราชาอยู่นั้น Samsung ก็เป็นแค่ผู้ตามที่ดี โดยพยายามศึกษาและดูข้อมูลของ Apple อยู่ตลอด และพยายามออกผลิตภัณฑ์ที่มีรูปร่างใกล้เคียงกับที่ตลาดขายได้ออกมา ซึ่งนั่นคือ Samsung Galaxy S1 นั่นเอง
2) กลยุทธ์ขยายตลาด
เมื่อซัมซุงได้ตามสถานการณ์ทันแล้ว สิ่งที่ซัมซุงทำต่อนั่นคือ การใช้ข้อได้เปรียบของตัวเองที่มี โดยซัมซุงเป็นOEM ที่ผลิตชิ้นส่วนของอุปกรณ์ SmartPhone ให้กับเจ้าต่างๆอยู่แล้ว จึงดึงข้อได้เปรียบของตัวเองมาและใส่ตัวเองเข้าไป ทำการขยายตลาดขึ้นเมื่อออก S1 ออกมาก็ทำการออก S2 ออกมาเพื่อลองตลาดผู้บริโภคให้มากขึ้น เมื่อลองตลาดแล้ว ยังไม่หยุด จึงมีการออก Android เวอร์ชั่น ที่ราคาโดนใจผู้บริโภคออกมาด้วย โดยเป็น Android ราคาต่ำนั่นเอง การออกพวกนี้ออกมาทำให้ Samsung ได้จับตลาดถูกว่า มือถือต้นทุนต่ำสามารถขายได้ดีกว่า มือถือราคาแพง แต่ขณะเดียวกันผู้บริโภคก็มีส่วนหนึ่งทีต้องการมือถือราคาแพงเช่นกัน Samsung จึงทำการแบ่งตลาดและซอยรุ่นต่างๆ ออกมาให้เข้าถึงผู้บริโภคให้มากขึ้น ตั้งแต่มือถือราคา 2000-3000 บาท จนถึง High-End เครื่องล่ะ 20000 Up ซึ่งการทำเช่นนนี้ทำให้การเข้าถึงผู้บริโภคมีโอกาสมากขึ้น แม้จะมีบางรุ่นที่ขายไม่ดี แต่แบรนก็ติดตลาดเรียบร้อยแล้ว
3) กลยุทธ์ผู้นำนวัตกรรม
ก้าวต่อมาหลังจากขยายตลาด ทำให้สินค้าของตัวเองติดแบรนสำหรับผู้บริโภคทั่วไปแล้ว จึงเริ่มก้าวต่อมาในการเป็นผู้นำนวัตกรรม ตัวอย่างคือ SS Galaxy Note เป็น Phablet ตัวแรกในวงการออกมา แม้ตอนแรกจะดูเหมือนแป๊กก็ตามที แต่นับเป็นก้าวแรกของนวัตกรรมใหม่ จากนั้นยังมี การรวมสองนวัตกรรมนั่นคือกล้องถ่ายรูป Compact กับ มือถือเข้ามานั่นคือ SS Galaxy Zoom ที่สามารถ่ายรูปได้ชัดเจนมากขึ้น นับเป็นการก้าวแห่งนวัตกรรมมากเลยทีเดียว
4) กลยุทธ์กินส่วนแบ่งตัวเอง
กลยุทธ์นี้ผู้คิดคือ Apple แต่ว่า Samsung เองก็ประสบความสำเร็จด้วย การกินส่วนแบ่งตัวเองคืออะไร มันคือการออก Product ใหม่ให้ทับกับตลาดตัวเองโดยให้กินส่วนแบ่งที่ตัวเองมีอยู่เดิม ซึ่งการทำเช่นนี้ทำให้ส่วนแบ่งไม่ไปไหน ไม่พอ การออก Product ที่ถี่ขึ้น ยังทำให้เป็นการสร้าง Awareness อย่างดีเลยทีเดียว
5) กลยุทธ์ขยายธุรกิจ
ไม่หยุดแค่ มือถือ นั่นแหละคือ ซัมซุง ซัมซุงพยายามขยายออกไปหลายธุรกิจให้มากขึ้นตั้งแต่อิเล็กทรอนิกส์จนถึง ประกันชีวิตเลยทีเดียว การทำเช่นนี้เป็นการประกันความมั่นคงของบริษัทได้อย่างดี โดยข้อนี้ได้ตัวอย่างจาก Nokia ที่เน้นธุรกิจด้านเดียวจนทำให้บริษัท ล้มเหลวในที่สุด
นายไอที
Samsung เป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของ Android ซึ่งกินตลาด Android มากที่สุดในโลก ทั้งนี้เริ่มต้นนั้นซัมซุงได้ผลิตมือถือเพื่อแข่งขันกับ Nokia โดยทั่วไป แต่ต่อมาเมื่อ Android เกิดขึ้น ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ก้าวไกล จึงได้รีบเข้ามาใน Android ทันที โดยเริ่มต้นมีบริษัทคู่แข่งมากมายทั้ง HTC, Sony, Motorolla ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นยักษ์ใหญ่ทั้งสิ้น แต่ Samsung ก็สามารถพิสูจน์ถึงหนทาง แห่งผู้นำและสามารถพลิกมาเป็นผู้นำในที่สุด
กลยุทธ์ที่ซัมซุงใช้ในการแข่งขันของตลาด SmartDevice นั้นไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรเลยนั่นคือกลยุทธ์ เดียวกับของ Nokia ในอดีตนั่นเอง แต่ทว่าซัมซุงมีการเพิ่มเติมเข้าไปอีกเล็กน้อย
1) กลยุทธ์ตามสถานการณ์
ซังซุงเป็นบริษัทที่ปรับตัวเร็วมาก กลยุทธ์อย่างแรกของซัมซุงคือการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ให้ทัน ดังนั้นตอนออกมาช่วง SmartPhone ช่วงแรกที่ Apple ยังคงเป็นราชาอยู่นั้น Samsung ก็เป็นแค่ผู้ตามที่ดี โดยพยายามศึกษาและดูข้อมูลของ Apple อยู่ตลอด และพยายามออกผลิตภัณฑ์ที่มีรูปร่างใกล้เคียงกับที่ตลาดขายได้ออกมา ซึ่งนั่นคือ Samsung Galaxy S1 นั่นเอง
2) กลยุทธ์ขยายตลาด
เมื่อซัมซุงได้ตามสถานการณ์ทันแล้ว สิ่งที่ซัมซุงทำต่อนั่นคือ การใช้ข้อได้เปรียบของตัวเองที่มี โดยซัมซุงเป็นOEM ที่ผลิตชิ้นส่วนของอุปกรณ์ SmartPhone ให้กับเจ้าต่างๆอยู่แล้ว จึงดึงข้อได้เปรียบของตัวเองมาและใส่ตัวเองเข้าไป ทำการขยายตลาดขึ้นเมื่อออก S1 ออกมาก็ทำการออก S2 ออกมาเพื่อลองตลาดผู้บริโภคให้มากขึ้น เมื่อลองตลาดแล้ว ยังไม่หยุด จึงมีการออก Android เวอร์ชั่น ที่ราคาโดนใจผู้บริโภคออกมาด้วย โดยเป็น Android ราคาต่ำนั่นเอง การออกพวกนี้ออกมาทำให้ Samsung ได้จับตลาดถูกว่า มือถือต้นทุนต่ำสามารถขายได้ดีกว่า มือถือราคาแพง แต่ขณะเดียวกันผู้บริโภคก็มีส่วนหนึ่งทีต้องการมือถือราคาแพงเช่นกัน Samsung จึงทำการแบ่งตลาดและซอยรุ่นต่างๆ ออกมาให้เข้าถึงผู้บริโภคให้มากขึ้น ตั้งแต่มือถือราคา 2000-3000 บาท จนถึง High-End เครื่องล่ะ 20000 Up ซึ่งการทำเช่นนนี้ทำให้การเข้าถึงผู้บริโภคมีโอกาสมากขึ้น แม้จะมีบางรุ่นที่ขายไม่ดี แต่แบรนก็ติดตลาดเรียบร้อยแล้ว
3) กลยุทธ์ผู้นำนวัตกรรม
ก้าวต่อมาหลังจากขยายตลาด ทำให้สินค้าของตัวเองติดแบรนสำหรับผู้บริโภคทั่วไปแล้ว จึงเริ่มก้าวต่อมาในการเป็นผู้นำนวัตกรรม ตัวอย่างคือ SS Galaxy Note เป็น Phablet ตัวแรกในวงการออกมา แม้ตอนแรกจะดูเหมือนแป๊กก็ตามที แต่นับเป็นก้าวแรกของนวัตกรรมใหม่ จากนั้นยังมี การรวมสองนวัตกรรมนั่นคือกล้องถ่ายรูป Compact กับ มือถือเข้ามานั่นคือ SS Galaxy Zoom ที่สามารถ่ายรูปได้ชัดเจนมากขึ้น นับเป็นการก้าวแห่งนวัตกรรมมากเลยทีเดียว
4) กลยุทธ์กินส่วนแบ่งตัวเอง
กลยุทธ์นี้ผู้คิดคือ Apple แต่ว่า Samsung เองก็ประสบความสำเร็จด้วย การกินส่วนแบ่งตัวเองคืออะไร มันคือการออก Product ใหม่ให้ทับกับตลาดตัวเองโดยให้กินส่วนแบ่งที่ตัวเองมีอยู่เดิม ซึ่งการทำเช่นนี้ทำให้ส่วนแบ่งไม่ไปไหน ไม่พอ การออก Product ที่ถี่ขึ้น ยังทำให้เป็นการสร้าง Awareness อย่างดีเลยทีเดียว
5) กลยุทธ์ขยายธุรกิจ
ไม่หยุดแค่ มือถือ นั่นแหละคือ ซัมซุง ซัมซุงพยายามขยายออกไปหลายธุรกิจให้มากขึ้นตั้งแต่อิเล็กทรอนิกส์จนถึง ประกันชีวิตเลยทีเดียว การทำเช่นนี้เป็นการประกันความมั่นคงของบริษัทได้อย่างดี โดยข้อนี้ได้ตัวอย่างจาก Nokia ที่เน้นธุรกิจด้านเดียวจนทำให้บริษัท ล้มเหลวในที่สุด
นายไอที
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)