วันอังคารที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2557

Marketing Strategy Analysis - Apple VS Google(Samsung) ตอน 5

Samsung บริษัทยักษ์ ทางด้าน Electronic ในนามของบริษัท Samsung Electronics จำกัด บริษัทซัมซุงมีต้นกำเนิดจากประเทศเกาหลีใต้โดยครั้งแรกไม่ได้เน้นทางด้าน Electronic เท่าไร แต่ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น บริษัทจึงได้มีแบ่งส่วนออกมา และต่อมา Samsung Electronic จึงเกิดขึ้น ปัจจุบัน Samsung ไม่ได้จำกัดแค่ส่วนของอุปกรณ์ IT เท่านั้น แต่ยังรวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นตู้เย็น เครื่องซักผ้า เป็นต้น

Samsung เป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของ Android ซึ่งกินตลาด Android มากที่สุดในโลก ทั้งนี้เริ่มต้นนั้นซัมซุงได้ผลิตมือถือเพื่อแข่งขันกับ Nokia โดยทั่วไป แต่ต่อมาเมื่อ Android เกิดขึ้น ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ก้าวไกล จึงได้รีบเข้ามาใน Android ทันที โดยเริ่มต้นมีบริษัทคู่แข่งมากมายทั้ง HTC, Sony, Motorolla ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นยักษ์ใหญ่ทั้งสิ้น แต่ Samsung ก็สามารถพิสูจน์ถึงหนทาง แห่งผู้นำและสามารถพลิกมาเป็นผู้นำในที่สุด

กลยุทธ์ที่ซัมซุงใช้ในการแข่งขันของตลาด SmartDevice นั้นไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรเลยนั่นคือกลยุทธ์ เดียวกับของ Nokia ในอดีตนั่นเอง แต่ทว่าซัมซุงมีการเพิ่มเติมเข้าไปอีกเล็กน้อย
1) กลยุทธ์ตามสถานการณ์
ซังซุงเป็นบริษัทที่ปรับตัวเร็วมาก กลยุทธ์อย่างแรกของซัมซุงคือการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ให้ทัน ดังนั้นตอนออกมาช่วง SmartPhone ช่วงแรกที่ Apple ยังคงเป็นราชาอยู่นั้น Samsung ก็เป็นแค่ผู้ตามที่ดี โดยพยายามศึกษาและดูข้อมูลของ Apple อยู่ตลอด และพยายามออกผลิตภัณฑ์ที่มีรูปร่างใกล้เคียงกับที่ตลาดขายได้ออกมา ซึ่งนั่นคือ Samsung Galaxy S1 นั่นเอง

2) กลยุทธ์ขยายตลาด
เมื่อซัมซุงได้ตามสถานการณ์ทันแล้ว สิ่งที่ซัมซุงทำต่อนั่นคือ การใช้ข้อได้เปรียบของตัวเองที่มี โดยซัมซุงเป็นOEM ที่ผลิตชิ้นส่วนของอุปกรณ์ SmartPhone ให้กับเจ้าต่างๆอยู่แล้ว จึงดึงข้อได้เปรียบของตัวเองมาและใส่ตัวเองเข้าไป ทำการขยายตลาดขึ้นเมื่อออก S1 ออกมาก็ทำการออก S2 ออกมาเพื่อลองตลาดผู้บริโภคให้มากขึ้น เมื่อลองตลาดแล้ว ยังไม่หยุด จึงมีการออก Android เวอร์ชั่น ที่ราคาโดนใจผู้บริโภคออกมาด้วย โดยเป็น Android ราคาต่ำนั่นเอง การออกพวกนี้ออกมาทำให้ Samsung ได้จับตลาดถูกว่า มือถือต้นทุนต่ำสามารถขายได้ดีกว่า มือถือราคาแพง แต่ขณะเดียวกันผู้บริโภคก็มีส่วนหนึ่งทีต้องการมือถือราคาแพงเช่นกัน Samsung จึงทำการแบ่งตลาดและซอยรุ่นต่างๆ ออกมาให้เข้าถึงผู้บริโภคให้มากขึ้น ตั้งแต่มือถือราคา 2000-3000 บาท จนถึง High-End เครื่องล่ะ 20000 Up ซึ่งการทำเช่นนนี้ทำให้การเข้าถึงผู้บริโภคมีโอกาสมากขึ้น แม้จะมีบางรุ่นที่ขายไม่ดี แต่แบรนก็ติดตลาดเรียบร้อยแล้ว

3) กลยุทธ์ผู้นำนวัตกรรม
ก้าวต่อมาหลังจากขยายตลาด ทำให้สินค้าของตัวเองติดแบรนสำหรับผู้บริโภคทั่วไปแล้ว จึงเริ่มก้าวต่อมาในการเป็นผู้นำนวัตกรรม ตัวอย่างคือ SS Galaxy Note เป็น Phablet ตัวแรกในวงการออกมา แม้ตอนแรกจะดูเหมือนแป๊กก็ตามที แต่นับเป็นก้าวแรกของนวัตกรรมใหม่ จากนั้นยังมี การรวมสองนวัตกรรมนั่นคือกล้องถ่ายรูป Compact กับ มือถือเข้ามานั่นคือ SS Galaxy Zoom ที่สามารถ่ายรูปได้ชัดเจนมากขึ้น นับเป็นการก้าวแห่งนวัตกรรมมากเลยทีเดียว

4) กลยุทธ์กินส่วนแบ่งตัวเอง
กลยุทธ์นี้ผู้คิดคือ Apple แต่ว่า Samsung เองก็ประสบความสำเร็จด้วย การกินส่วนแบ่งตัวเองคืออะไร มันคือการออก Product ใหม่ให้ทับกับตลาดตัวเองโดยให้กินส่วนแบ่งที่ตัวเองมีอยู่เดิม ซึ่งการทำเช่นนี้ทำให้ส่วนแบ่งไม่ไปไหน ไม่พอ การออก Product ที่ถี่ขึ้น ยังทำให้เป็นการสร้าง Awareness อย่างดีเลยทีเดียว

5) กลยุทธ์ขยายธุรกิจ
ไม่หยุดแค่ มือถือ นั่นแหละคือ ซัมซุง ซัมซุงพยายามขยายออกไปหลายธุรกิจให้มากขึ้นตั้งแต่อิเล็กทรอนิกส์จนถึง ประกันชีวิตเลยทีเดียว การทำเช่นนี้เป็นการประกันความมั่นคงของบริษัทได้อย่างดี โดยข้อนี้ได้ตัวอย่างจาก Nokia ที่เน้นธุรกิจด้านเดียวจนทำให้บริษัท ล้มเหลวในที่สุด

นายไอที 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น